2024-02-27 09:20:40
จำนวนครั้งที่อ่าน : 161
ไฝเกิดขึ้นได้ทุกบริเวณบนร่างกาย แม้กระทั่งใต้เล็บ สามารถเปลี่ยนรูปร่างไปได้ตลอดเวลาหรือจางหายไปเมื่ออายุมากขึ้น โดยทั่วไปไฝไม่ก่อให้เกิดอันตราย แต่ไฝบางชนิดที่ผิดปกติอาจเป็นสัญญาณของมะเร็งเมลาโนมาได้
หากไฝมีการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนหรือเร็วเกินไป เช่น สี ขนาด รูปร่าง โตเร็วผิดปกติ ตกสะเก็ด หรือมีเลือดออก ควรระวังและปรึกษาแพทย์
วิธีป้องกันมะเร็งผิวหนัง ควรทาครีมกันแดดเป็นประจำทุกวัน โดยเลือกครีมกันแดดที่มีค่า SPF15 ขึ้นไป ทาครีมกันแดดก่อนออกแดดอย่างน้อย 20-30 นาที และควรทาซ้ำทุกๆ 2 ชั่วโมงเพื่อประสิทธิภาพสูงสุด
ไฝ กับ ขี้แมลงวันแตกต่างกันอย่างไร?
ไฝ (Mole, Nevus) เกิดจากเซลล์สร้างเม็ดสีของร่างกายมีการรวมตัวในบริเวณเดียวกันจนเห็นเป็นสีเข้ม อาจเป็นสีน้ำตาลหรือดำ และอาจมีลักษณะเรียบหรือนูน การเกิดของไฝมีทั้งที่เป็นมาตั้งแต่แรกเกิด หรือเกิดในภายหลัง โดยอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้ ทั้งมีสีเข้มขึ้นหรืออ่อนลง เม็ดใหญ่ขึ้นหรือจางหายไปก็ได้
มะเร็งผิวหนังมีหลายชนิด แต่ชนิดที่รุนแรงที่สุดคือ melanoma ซึ่งพบผู้ป่วยกว่าสองแสนคนทั่วโลกและมีผู้เสียชีวิตถึง ห้าหมื่นคนต่อปี เพศชายมีโอกาสเกิดมากกว่าเพศหญิง
melanoma เกิดจากความผิดปกติของเซลล์สร้างเม็ดสีของผิวหนังหรือ melanocyte ซึ่งสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดคือ การสัมผัสรังสีอัลตราไวโอเลต (UV) ที่มากเกินไป การตรวจพบมะเร็งผิวหนังชนิดนี้และเริ่มรักษาตั้งแต่ในระยะเริ่มแรกจะเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตจากมะเร็งชนิดนี้ได้ถึง 99%
ลักษณะที่สังเกตได้ง่าย คือ
A – Asymmetry ไฝโดยทั่วไปมักมีขนาดกลม ไฝที่มีรูปร่างไม่สมมาตรมีโอกาสสูงที่จะกลายเป็นมะเร็ง
B – Border ขอบเขต โดยขอบเขตของไฝที่มีโอกาสกลายเป็นมะเร็งมักมีขอบเขตไม่สม่ำเสมอหรือไม่ชัดเจน
C – Color สี โดยทั่วไปไฝหนึ่งเม็ดควรจะเป็นสีเดียวกัน หากสีของไฝไม่สม่ำเสมอหรือมีหลายสีในเม็ดเดียวควรระวัง
D – Diameter ขนาด หากไฝมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 6 มิลลิเมตร อาจเป็นมะเร็งผิวหนังได้
E – Evolving การเปลี่ยนแปลง หากไฝมีการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนหรือเร็วเกินไป เช่น สี ขนาด รูปร่าง โตเร็วผิดปกติ ตกสะเก็ด หรือมีเลือดออก ควรระวังและปรึกษาแพทย์
การกำจัดไฝ
หากสงสัยภาวะมะเร็งผิวหนัง ควรทำการฝานหรือตัดเพื่อส่งตรวจชิ้นเนื้อ ไม่ควรทำเลเซอร์ แต่ถ้าหากได้รับการตรวจว่าไฝนั้นไม่มีลักษณะที่เข้าข่ายสงสัยมะเร็งผิวหนังก็สามารถเอาออกด้วยการทำเลเซอร์ได้
วิธีการเอาไฝออกนั้นมีสองวิธี คือ การทำเลเซอร์และการตัดออก ขึ้นอยู่กับระดับความลึกของไฝ และดุลยพินิจของแพทย์ผู้ตรวจ ซึ่งการกำจัดไฝทุกวิธีมีโอกาสทำให้เกิดแผลเป็น แต่การกำจัดไฝโดยแพทย์ที่มีความชำนาญจะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดแผลเป็นถาวรหรือแผลเป็นนูน (keloid) ได้
ไฝแบบไหน เข้าข่ายเสี่ยงมะเร็ง
การวินิจฉัยมะเร็งผิวหนังสามารถทำได้หลังจากที่แพทย์ตัดชิ้นเนื้อของไฝที่น่าสงสัยเพื่อส่งตรวจทางพยาธิวิทยา ปัจจุบันมีการใช้ dermoscope เพื่อใช้ในการตรวจคัดกรองมะเร็งผิวหนังระยะเริ่มแรกรวมถึงการทำ mole mapping ซึ่งเป็นการถ่ายรูปตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้าด้วยเครื่อง FOTOfinder เพื่อตรวจติดตามลักษณะของไฝอย่างใกล้ชิดและจะมีการทำซ้ำทุกปีจึงสามารถตรวจหาการเกิดไฝเม็ดใหม่ ๆ ได้
การรักษามะเร็งผิวหนังที่ดีที่สุดคือ การผ่าตัดเอาบริเวณที่เป็นมะเร็งผิวหนังออกให้หมด อาจใช้วิธีการขูดออกร่วมกับการจี้ด้วยไฟฟ้าหรือไนโตรเจนเหลว แต่หากรอยโรคมีขนาดใหญ่ต้องใช้วิธีเคมีบำบัดหรือการฉายแสงร่วมด้วย
ไฝบางชนิดอาจกลายเป็นมะเร็งผิวหนัง ได้ ควรหมั่นสังเกตความเปลี่ยนแปลงและปรึกษาแพทย์โดยเร็วเพื่อทำการวินิจฉัยและรักษาตั้งแต่ระยะแรกซึ่งจะสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเสียชีวิตได้อย่างมาก
ตรีชฎา-คลินิก คลินิกรักษาสิว จังหวัดอุบลราชธานี รักษาสิว ทุกชนิด สิวอุดตัน สิวอักเสบ สิวฮอร์โมน สิวสเตียรอยด์ แพ้ครีม แพ้เครื่องสำอาง ทรีทเม้นท์ ไอพีแอล เลเซอร์ คิดถึงเรา โทร 061-550-9396 LINE ID: @629inyrd
Share to Social Networks
บริการเว็บไซต์โดย 8columns.com